อาหารทีชอบ

ข้าวมันไก่ สุกี้

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ

ชื่อ นางสาว พัชรินทร์ ถนัดเลื่อย
ชื่อเล่น ตี้
อายุ 21 ปี
วันเกิด 14 มีนาคม 2538
ที่อยู่ 63 บ้านเทพหัสดินทร์ ต.นิคม อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
เบอร์โทร 089-0809341 080-7988173
สีที่ชอบ ชมพู
อาหารที่ชอบ ข้าวมันไก่
ชอบฟังเพลง เพื่อชีวิต
ศิลปินที่ชอบ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
งานอดิเรก เล่นเกมส์ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือการ์ตูน
กำลังศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์






จังหวัดนครราชสีมา

        ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครราชสีมา
                   บริเวณจังหวัดนคราชสีมาในปัจจุบันปรากฎร่องรอยและหลัก ฐานแสดงว่ามีพัฒนาการของชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 4000-3000 ปีมาแล้วที่บริเวณเขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว ภาพเขียนแสดงการดำเนินชีวิต ของคนในสังคมล่าสัตว์นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นทางโบราณคดีพบหลักฐานทางด้าน การตั้งถิ่นฐานของชุมชนเกษตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ของเมืองนครราชสีมา เมื่อประมาณ3000 ปีมาแล้วที่บ้านธารปราสาท อำเภอโนนสูง และยังพบหินตั้งเป็นรูปวงกลมที่บ้านหินตั้ง อำเภอสูงเนิน ซึ่งศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี สันนิษฐานว่า เป็นวัฒนธรรมหินใหญ่รุ่นใหม่เชื่อว่าเป็นศาสนา สถานหรือหลักเขตแสดงอาณาเขตของเมือง ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 อาณาจักรเจนละของขอมได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรากฎหลักฐานที่ปราสาทภูมิโปน จังหวัดสุรินทร์ และเมืองศรีเทพจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็เป็นโบราณสถานอันเนื่องจาก ศาสนาพราหมณ์ของอาณาจักรเจนละ แสดงว่าบริเวณเมืองนครราชสีมาก็อาจอยู่ใต้อำนาจของขอม เพราะมีหลักฐานว่าขอมแผ่ขยายอาณาเขตมาถึงพิมายด้วย ร่วมสมัยกับอาณาจักรเจนละ มีหลักฐานหลายประการที่แสดงว่า เมืองนครราชสีมาได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมสมัยทวาราวดี โดยเฉพาะที่เมืองเสมา อำเภอสูงเนินพบชุมชนที่มีคูนำคันดินเป็นรูปวงรี มีการพบศิลาธรรมจักร และพระพุทธไสยาสน์ ปัจจุบันอยู่ที่วัดคลองขวาง ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน แต่ไม่แน่ใจว่าอาณาจักรทวารวดี จะแผ่อำนาจเข้าครอบครองหรือไม่ เพราะฝีมือเป็นของช่างพื้นเมือง อาณาจักรศรีจนาศะ พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ร่วมสมัยกับอาณาจักรเจนละ ทวาราวดี ศรีวิชัยและโยนก มีศิลาจารึกบ่ออีกา ซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ ได้อ่านจารึกนี้ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแปลจากภาษาฝรั่งเศสว่าจารึกนี้เกี่ยวกับพุทธศาสนา และกล่าวถึง พระราชาแห่งอาณาจักรศรีจนาศะ ทรงอุทิศปศุสัตว์และทาสทั้งหญิงชายถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และจารึกอีกหลักหนึ่งกล่าวถึงพระราชา แห่งศรีจนาศะว่าเป็นกษัตริย์ ที่ครองอาณาจักรอยู่นอกเขตอาณาจักรในกัมพูชา แต่ศูนย์กลางอาณาจักรศรีจนาศะนั้นเราไม่อาจปักใจว่า อยู่บริเวณบ่ออีกา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน แต่น่าจะอยู่บริเวณที่ราบสูงโคราช มากกว่าบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้น่าเชื่อว่าอาณาจักร ศรีจนาศะได้รวมตัวเป็นอาณาจักรที่มั่นคง ก่อนพุทธศตวรรษที่ 15 เพราะมีการกล่าวชื่อของอังศุเทพ ซึ่งจะเป็นนามบรรพบุรุษก่อนที่จะสร้างจารึก บ่ออีกา พ.ศ. 1411 อาณาจักรนี้คงจะรุ่งเรืองสืบต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 15
ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 นี้เอง ขอมในสมัยพระนครหรืออาณาจักรกัมพูชา ได้แผ่ขยายอิทธพลเข้ามาในเมืองนครราชสีมา เพราะปรากฎพระนามของ พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1432) ที่ปราสาทหินพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง และมีการสร้างปราสาทหินเมืองแขกตำบลโคราช พบศิลาทับหลังที่สถานพระนารายณ์ วัดพระนาราย์มหาราช อำเภอเมือง นอกจากนี้ยังมีการสร้างปราสาทหินพิมายสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และสร้างต่อเนื่องมาถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่สิ้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรขอมสมัยพระนครเสื่อมลง ขอมคงไม่ได้ควบคุมดินแดนแถบนี้อย่างเข้มงวดนัก เพราะในสมัยอาณาจักรสุโขทัย เขตแดนของไทยยังไม่รวมเมืองนครราชสีมา เมืองนครราชสีมารวมกับอาณาจักร กรุงศรีอยุธยา สมัยพระรามาธิบดีที่ 1